ต้อหิน คืออะไร รู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นต้อหิน?

ต้อหิน คืออะไร

ต้อหิน คืออะไร เพราะ…’ต้อหิน’ คือสาเหตุทำให้ตาบอดได้มากที่สุดอันดับสองรองจากต้อกระจก ซึ่งมีสาเหตุจากการเสื่อมของขั้วประสาทตา ที่สำคัญโรคนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการ คนที่เป็นต้อหินจึงมาพบแพทย์เมื่อโรคเป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ทันท่วงที นำไปสู่ความมืดมนของดวงตา ดังนั้นการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกๆ ปี จึงสามารถประเมินได้ว่าเรามีความเสี่ยงเป็นต้อหินบางชนิดหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การป้องกันก่อนที่จะเป็นโรคและสามารถรักษาได้ทันท่วงที

พญ.ขนิษฐา ตันติสิริสมบูรณ์ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ได้อธิบายถึงโรคต้อหินด้วยการเล่าถึงเคสผู้ป่วยที่เคยมารับการรักษาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพว่า “มีผู้รับบริการท่านหนึ่ง อายุ 45 ปี ไม่เคยตรวจตามาก่อน วันหนึ่งลูกพามาตรวจสุขภาพ จึงได้รับการตรวจสุขภาพตาเป็นครั้งแรก ผู้รับบริการท่านดังกล่าวไม่เคยมีอาการผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับตามาก่อน จึงไม่เคยพบจักษุแพทย์”

“จากการตรวจตาพบว่าไม่มีตามัว แต่มีความดันลูกตาสูงทั้งสองข้าง และขั้วประสาทตาลึกผิดปกติ จึงได้ส่งตรวจลานสายตา และสแกนขั้วประสาทตา พบมีลักษณะเข้าได้กับต้อหินทั้ง 2 ตา เมื่อซักประวัติเพิ่มพบว่ามีประวัติคุณพ่อเป็นต้อหิน แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเป็นต้อหิน และเริ่มให้การรักษาโดยการหยอดยา ทำให้สามารถควบคุมความดันตาให้กลับมาเป็นปกติ”

ต้อหิน คืออะไร ?

‘ต้อหิน’ ไม่ได้หมายถึงการมีก้อนหรือมีหินอยู่ในตา แต่หมายถึง ‘โรคที่มีความดันลูกตาสูง ทำให้ลูกตาแข็งเหมือนหิน’ และความดันลูกตาที่สูงนี้จะทำให้เกิดการกดเส้นประสาทตา ทำให้เซลล์ประสาทตาถูกทำลายลงไปช้าๆ จนตาบอดได้ในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษา

ต้อหิน คืออะไร

ใครบ้างมีโอกาสเสี่ยงเป็นต้อหิน?

ต้อหิน คืออะไร

‘ต้อหิน’ ถือเป็นภัยเงียบ ในต้อหินมุมเปิดมักไม่มีอาการ และมักตรวจพบเมื่อมาตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ จึงทำให้กว่าที่ผู้ป่วยต้อหินจะได้รับการวินิจฉัยและรักษามักจะเป็นมากแล้ว สาเหตุของต้อหิน ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ และมีบางส่วนเป็นกรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัวเป็น ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินมากกว่าปกติ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ สายตาสั้นหรือยาว ผลกระทบจากโรคเบาหวาน

การวินิจฉัยและรักษา

การวินิจฉัย อาศัยการตรวจตา การวัดความดันลูกตา ตรวจจอประสาทตา การตรวจลานสายตา ร่วมกับการสแกนขั้วประสาทตาด้วยเครื่อง OCT (Optical Coherence Tomography) สำหรับการรักษามักจะเริ่มต้นด้วยการหยอดยาเพื่อลดความดันลูกตา และในกรณีที่หยอดยาแล้วไม่ได้ผลจึงรักษาด้วยการผ่าตัด

การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงได้หรือไม่?

วิธีรักษาต้อหิน

แนะนำว่าควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว และผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญ โรคตาบางโรคอาจไม่มีอาการ และย่อมดีกว่าหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ

รักษาต้อหินโดยจักษุแพทย์

บทความโดย : พญ.ขนิษฐา ตันติสิริสมบูรณ์

จักษุแพทย์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์

 

ทำเลสิกเหมือนได้เกิดใหม่ เปิดประสบการณ์ใหม่มองโลกชัดเจนสดใสไม่ต้องใช้แว่น สนใจ inbox 🌈🌈😀

👉เลสิก ใช้เวลาเพียงข้างละ 10 นาที ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ทำวันนี้ พรุ่งนี้ก็มองเห็นแล้ว❤️😀

✅ แพทย์เฉพาะทางด้านเลสิก ประสบการณ์กว่า 15 ปี

✅ เครื่องเลเซอร์รุ่นใหม่ WaveLight EX500 แม่นยำและปลอดภัยสูง

✅ ราคาคุ้มค่า 38500 มี โปรโมชั่นส่วนลดเพิ่ม ***

✅ ผ่อนสบายๆ 0 % กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

#เลสิคหมอขนิษฐา #เลสิคไทยนครินทร์

เลสิกหมอขนิษฐา จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเลสิก ประสบการณ์กว่า 15 ปี