ทุกวันนี้ด้วยการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับหน้าจอวันละหลายชั่วโมง ทำให้คนที่มีปัญหาสายตาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายๆคนมีปัญหาสายตาสั้น แต่ไม่อยากใส่แว่น หรือมีปัญหากับการใส่คอนแทคเลนส์ มีความไม่สะดวกในการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่างๆ ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมมากในการแก้ไขสายตาในปัจจุบันได้แก่ การทำเลสิก
เลสิกคืออะไร (VDO lasik)
เลสิก หรือ LASIK ย่อมาจากคำว่าLaser In Situ Keratomileusis คือวิธียอดนิยมในการรักษาสายตาด้วยเทคโนโลยีการใช้แสงเลเซอร์ ในปัจจุบันมีคนกว่า 30 ล้านคนทั่วโลกได้รับการรักษาสายตาด้วยเลสิกไปแล้ว เลสิกสามารถแก้ปัญหาสายตาเหล่านี้ได้อย่างถาวร ได้แก่
- สายตาสั้น
- สายตายาวแต่กำเนิด
- สายตาเอียง
โดยการใช้เลเซอร์ปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา ทำให้ค่าสายตากลับมาเป็นปกติ แสงที่ผ่านกระจกตาเข้าไปจะไปโฟกัสที่จอรับภาพพอดี ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่สร้างประวัติศาสตร์อันโดเด่นในการรักษาสายตา เนื่องจากเป็นวิธีที่แม่นยำ สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว โดยใช้เวลาในการรักษาเพียง 10 นาทีต่อข้างเท่านั้น ทำให้ผู้รับการรักษษไม่ต้องใช้แว่นหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป
ประวัติความเป็นมาของการทำเลสิก ใครเป็นผู้คิดค้นวิธีรักษา
ต้นกำเนิดของ LASIK นั้น เริ่มต้นจากในปี ค.ศ. 1949 ( พ.ศ.2492) Dr. Jose I. Barraquer จักษุแพทย์แห่งประเทศโคลัมบีย ได้คิดค้นเครื่องมือแยกชั้นกระจกตาด้านนอกออก แล้วนำมาฝนเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แล้วเย็บกลับเข้าไปที่เดิม เพื่อรักษาสายตาสั้น วิธีการนี้เรียกว่า Keratomileusis (เป็นภาษากรีก แปลว่าการปรับความโค้งของกระจกตา) แต่ผลในช่วงแรกยังไม่แม่นยำนัก
ช่วงปีคศ.1973-1983 ทีมนักวิจัยของ IBM ได้คิดค้น Excimer Laser ที่มีความที่มีความยาวคลื่น 193 นาโนเมตรได้สำเร็จ คุณสมบัติพิเศษของเลเซอร์นี้คือมีความละเอียดและแม่นยำสูงถึงขนาดที่สามารถใช้แกะสลักเส้นผมให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการได้ สามารถขัดผิวกระจกตาให้เรียบ เป็นเลเซอร์เย็นที่ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง จึงมีความปลอดภัยสูง
การค้นพบเลเซอร์นี้ได้นำมาสู่นวัตกรรมการรักษา ที่เปลี่ยนโฉมหน้าการผ่าตัดรักษาสายตา ในปี คศ.1983 Dr. Trokel ได้เริ่มนำ เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser)มายิงบนผิวกระจกตา เพื่อรักษาสายตาสั้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษาแบบPRK หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งในปีคศ. 1990 (พศ.2533) Dr.Buratto และ Dr.Pallikalis ได้นำเอา Excimer Laser มารักษาร่วมกับวิธี keratomileusis จนกลายเป็นการรักษาแบบ เลสิก ที่เรารู้จักในปัจจุบันนั่นเอง คำว่า LASIK ย่อมาจาก Laser In- Situ Keratomileusis ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ
- การแยกชั้นกระจกตา
- ปรับความโค้งกระจกตาด้วย Excimer laser
ซึ่งทำให้ผลการรักษาแม่นยำยิ่งขึ้น ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมามีการพัฒนา 3 สิ่งหลักๆ ที่สำคัญในการทำเลสิกที่เป็นจุดเปลี่ยนส่งผลให้การทำเลสิกได้ผลดียิ่งขึ้น ได้แก่ การประดิษฐ์เครื่องแยกชั้นกระจกตาแบบ microkeratomeที่เป็นระบบอัตโนมัติ การแยกชั้นกระจกตาแบบที่เป็นแบบฝาพับ และ เทคนิคการปูชั้นกระจกตากลับเข้าที่เดิมแบบไม่มีรอยเย็บ
ในปี คศ.1999 (พศ.2542)องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(FDA)ได้ approved วิธีการรักษาสายตาด้วย
เลสิก ซึ่งทำให้เลสิคเป็นที่นิยมอย่างมาก หลังจากนั้นเทคโนโลยีทางด้านเลสิกได้รับการคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงระดับสูงสุดในปัจจุบัน
ทำเลสิกเหมือนได้เกิดใหม่ เปิดประสบการณ์ใหม่มองโลกชัดเจนสดใสไม่ต้องใช้แว่น สนใจ inbox 🌈🌈😀
👉เลสิก ใช้เวลาเพียงข้างละ 10 นาที ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ทำวันนี้ พรุ่งนี้ก็มองเห็นแล้ว❤️😀
✅ แพทย์เฉพาะทางด้านเลสิก ประสบการณ์กว่า 15 ปี
✅ เครื่องเลเซอร์รุ่นใหม่ WaveLight EX500 แม่นยำและปลอดภัยสูง
✅ ราคาคุ้มค่า 38500 มี โปรโมชั่นส่วนลดเพิ่ม ***
✅ ผ่อนสบายๆ 0 % กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ
#เลสิคหมอขนิษฐา #เลสิคไทยนครินทร์
เลสิกหมอขนิษฐา จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเลสิก ประสบการณ์กว่า 15 ปี