เลสิกเหมาะกับคนที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แต่ไม่ชอบใส่แว่น ใส่คอนแทคเลนส์ ทั้งนี้เพราะการใส่คอนแทคเลนส์นานๆมักทำให้มีปัญหาตาแห้ง บางคนมีอาการแพ้คอนแทคเลนส์ ใส่แล้วเคืองตา ตาแดง และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นแผลที่กระจกตาได้ เลสิกจึงเป็นทางเลือกของคนที่อยากจะมองเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า
การทำเลสิกเหมาะกับใคร
ผู้ที่จะทำเลสิกได้ ควรมีคุณสมบัติตามนี้
1.อายุที่สามารถทำเลสิกได้
- อายุน้อยที่สุดที่ทำเลสิกได้คือตั้งแต่ 18ปีขึ้นไปและมีสายตาที่คงที่แล้ว จะทราบได้อย่างไรว่าสายตาของเราคงที่หรือยัง ดูได้จากการวัดค่าสายตาในแต่ละปี หากเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 50 ( 0.50 ไดออปเตอร์) ถือว่าคงที่แล้ว
- อายุมากสุดที่ทำเลสิกได้คือ ช่วงอายุประมาณ 50-55 ปี โดยที่ยังไม่มีต้อกระจกหรือโรคตาอื่นๆ
2.ไม่มีโรคตาที่เป็นข้อห้าม ได้แก่ โรคกระจกตาย้วย โรคต้อหินขั้นรุนแรง โรคเริมที่กระจกตา โรคตาแห้งขั้นรุนแรง
3.ไม่มีโรคทางกายที่เป็นข้อห้าม เช่นโรคภูมิแพ้ตัวเอง โรครูมาตอยด์ โรค SLE หรือโรคพุ่มพวง
4.ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก
5.ไม่ได้กินยารักษาสิวกลุ่ม ROACCUTANE ซึ่งจะทำให้ตาแห้งมาก หากกินยานี้อยู่ควรหยุดอย่างน้อย 1-3 เดือน จนอาการตาแห้งดีขึ้นแล้ว จึงสามารถทำเลสิกได้
หากไม่แน่ใจว่าตัวเราเหมาะกับเลสิกหรือไม่ แนะนำให้รับการตรวจและปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านเลสิกโดยตรง เนื่องจากคนไข้แต่ละท่านอาจมีปัจจัยอื่นๆที่ต้องพิจารณาร่วมกันในแต่ละราย
ค่าสายตาเท่าไหร่ทำเลสิกได้
เลสิกสามารถรักษา
- สายตาสั้น ได้ตั้งแต่ -0.50 ถึง -11.00 ( หรือภาษาทั่วๆไปคือสายตาสั้น 50 ถึง 1100 นั่นเอง)
- สายตาเอียง ได้ถึงประมาณ -5.00
- สายตายาวแต่กำเนิดได้ถึง +3.00
แต่ทั้งนี้ในการพิจารณารักษาจะขึ้นกับความหนาของกระจกตาและสภาพตาของคนไข้แต่ละบุคคลด้วย
ใครบ้างที่ทำเลสิกไม่ได้
เลสิกไม่ได้เหมาะกับคนไข้ทุกคน ถ้าใครเคยอ่านรีวิวของคนไข้ที่มาตรวจประเมินสภาพตาก่อนทำเลสิก จะพบว่ามีคนไข้บางส่วนที่แพทย์ไม่แนะนำให้ทำเลสิก หรือทำไม่ได้ คนไข้กลุ่มนี้ได้แก่
- กระจกตาบาง โดยปกติในการรักษาด้วยวิธีเลสิก เราจำเป็นต้องเหลือเนื้อกระจกตาไว้ให้หนาอย่างน้อย 280-300 ไมครอน เพื่อคงความแข็งแรงของกระจกตาไว้ หากคำนวนแล้วพบว่าถ้าทำแล้วความหนาของกระจกตาเหลือน้อยกว่า 280 ไมครอนจะถือว่ากระจกตาบางเกินไป ไม่สามารถทำเลสิกได้ อาจต้องใช้วิธีอื่นๆแทนการทำเลสิก เช่นเลนส์เสริม หรือ PRK นอกจากนี้ในคนไข้ที่มีความหนาของกระจกตาที่น้อยกว่า 500 ไมครอนก็จัดอยู่ในกลุ่มของคนไข้ที่กระจกตาบางเช่นกัน
- เป็นโรคกระจกตาโก่งหรือกระจกตาย้วย โรคนี้เป็นข้อห้ามในการทำเลสิก เนื่องจากจะทำให้สภาพตาแย่ลง หลังทำสายตาจะไม่คงที่
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ผลการรักษาไม่แม่นยำได้
- เป็นโรคออโต้อิมมูนหรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง เช่น SLE รูมาตอยด์ เนื่องจากตัวโรคมีผลกับการหายของแผล และอาจมีอาการตาแห้งผิดปกติได้
- เคยเป็นโรคเริมที่กระจกตา จะกระตุ้นให้เกิดโรคเริมขึ้นมาได้บ่อยขึ้น
- มีต้อกระจก หากมีต้อกระจก แนะนำให้รักษาต้อกระจก ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาในโรคต้อกระจกนั้นจะช่วยรักษาสายตาสั้นไปด้วย โรคนี้มักพบในคนอายุมากกว่า 55ปีขึ้นไป
- โรคต้อหินขั้นรุนแรง
- เป็นเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้หรือมีเบาหวานขึ้นตา
- มีตาแห้งมากๆ รักษาแล้วไม่ดีขึ้น
สำหรับโรคตาอื่นๆ ที่ตรวจพบแล้ว ยังไม่สามารถทำเลสิกได้ทันที แต่เมื่อรักษาแล้วสามารถทำเลสิกได้ ได้แก่
- ภาวะจอประสาทตาเป็นรู ซึ่งมักพบในคนที่สายตาสั้นมาก สามารถรักษาโดยเลเซอร์ปิดรูที่จอประสาทตาก่อนแล้วรอประมาณ 3-4 สัปดาห์จนรอยเลเซอร์แข็งแรงดีแล้วจึงค่อยมาทำเลสิก
- ภาวะตาแห้ง ที่รักษาแล้วดีขึ้น
หากมีปัญหาสาตา และสนใจการรักษาด้วยเลสิก แนะนำให้นัดเข้ามาตรวจและปรึกษาแพทย์โดยตรง เพราะจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงสามารถบอกได้ว่าตาของเราสามารถทำเลสิกได้หรือไม่ และ เหมาะกับวิธีใดมากที่สุด
ทำเลสิกเหมือนได้เกิดใหม่ เปิดประสบการณ์ใหม่มองโลกชัดเจนสดใสไม่ต้องใช้แว่น สนใจ inbox
เลสิก ใช้เวลาเพียงข้างละ 10 นาที ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ทำวันนี้ พรุ่งนี้ก็มองเห็นแล้ว
แพทย์เฉพาะทางด้านเลสิก ประสบการณ์กว่า 15 ปี
เครื่องเลเซอร์รุ่นใหม่ WaveLight EX500 แม่นยำและปลอดภัยสูง
ราคาคุ้มค่า 38,500 มี โปรโมชั่นส่วนลดเพิ่ม ***
ผ่อนสบายๆ 0 % กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ
#เลสิกหมอขนิษฐา #เลสิกไทยนครินทร์
เลสิกหมอขนิษฐา จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเลสิก ประสบการณ์กว่า 15 ปี